เนื้อหา

 

บทบาทของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในยุโรป พ.ศ.2457 นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลางแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด เมื่อการสงครามรุนแรงขึ้น ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2460 แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วยสงครามในยุโรป การส่งทหารไปรบในครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์เพราะเท่ากับได้ไปเรียนวิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริง ๆ เมื่อเสร็จสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซายด้วย ผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่าง ๆ ที่ไทยทำ กับเยอรมนี และ ออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลง ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่น ๆ แต่ ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วย เหลือ จาก ดร. ฟรานซิส บีแซร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกา ซึ่ง เคยเป็นที่ปรึกษา ต่างประเทศ จนได้รับพระ ราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยากัลยา ณ ไมตรี ใน ที่สุด ประเทศต่าง ๆ 13 ประเทศ รวม ทั้ง อังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. ๒๔๖๘ และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๗ ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมี เงื่อนไขบางประการ เช่น จะ ยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และ ยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอาการ ยกเว้น บางอย่าง ที่ อังกฤษขอลดหย่อนต่อไป อีก ๑๐ ปี เช่น ภาษี สินค้า ฝ้าย เป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่าง ๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จและ เปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่ กับ ไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ไทยได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และ ภาษีอากร คืนมาโดยสมบูรณ์
ในจำนวนทหารอาสาของสยาม 1,233 นาย มีทหารอาสาเสียชีวิต 19 นาย ซึ่งได้ทำการฝังไว้ที่ตำบล ดายูเบ คูรท์ และทำการฌาปนกิจที่สุสานประเทศเยอรมันนี เมื่อกองทหารอาสาเดินทางกลับสยามในวันที่ 21 กันยายน 2462 แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้เชิญอัฐิของทหารอาสาทั้ง 19 นายมาทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุฯ พร้อมกับบรรจุไว้ในอนุเสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณมุมตะวันตกเฉียงเหนือของสนามหลวง นอกจากนนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปให้แก่ทหารอาสาทุกคนอีกด้วย